พระเจ้าเมนันเดอร์  Menander.มิลินท์ปัญหา พุทธปรัชญา/กำเนิดพุทธปฏิมากรรม-สัญญลักษณ์และรูปลักษณ์เครื่องหมายแทนคำสอน

 

ประวัติความเป็นมาพระเจ้า มิลินท์

#..ประวัติโดยสังเขปจาก..โดยธรรมะไทย

#.. หลังจากที่พระเจ้าปุษยมิตรแห่งราชวงศ์สุงคุได้ทำลายพุทธศาสนาลงอย่างหนัก ทำให้สถานการณ์พุทธศาสนาโดยรวมอ่อนแอลงอย่างมากแต่ศาสนาพราหมณ์เริ่มได้รับการสนับสนุนฟื้นฟูมากขึ้น ราชวงศ์สุงคะปกครองอยู่ ๑๐๒ ปีจึงสิ้นสุดลง 

#.ต่อมาจึงปกครองด้วยราชวงศ์กานวะ ราชวงศ์นี้ส่วนมากเป็นพุทธศาสนิกชนจึงทำให้สถานการณ์พุทธศาสนาดีขึ้นมาก ราชวงศ์นี้มีกษัตริย์ปกครอง ๔ พระองค์ รวมเวลา ๔๕ ปี 

#..ในยุคนี้ได้มีพระมหากษัตริย์ที่มีเดชานุภาพยิ่งใหญ่เกิดขึ้นในอินเดียทางเหนือโดยสายเลือด พระองค์ไม่ใช่ชาวอินเดียอารยัน 

@.แต่เป็นเชื้อสายฝรั่งกรีก ผู้ที่ทำให้พุทธศาสนาแผ่ไพศาลในอินเดียเหนือและเลยไปถึงเอเชียกลาง พระองค์คือพระเจ้ามิลินท์หรือเมนันเดอร์ตามสำเนียงกรีก

๑.พระเจ้ามิลินท์ (King Menender)

#.พระเจ้ามิลินท์  หรือเมนันเดอร์ (Menander) ได้ขยายอิทธิพลลงมาถึงเมืองตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำคงคา ปรากฏในตำนานฝ่ายบาลีและฝ่ายจีนว่า ตอนแรกพระองค์มิได้เลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้ขัดขวางพุทธศาสนาด้วยพระราโชบายต่าง ๆ อนึ่ง เนื่องจากพระองค์เป็นผู้แตกฉานในวิชาไตรเพทและศาสนาปรัชญาต่าง ๆ รวมทั้งพุทธศาสนาด้วย จึงได้เที่ยวประกาศโต้วาทีกับเหล่าสมณะพราหมณ์ ก็สามารถ ชนะสมณะพราหมณ์เหล่านั้นรวมทั้งพระภิกษุในพุทธศาสนา ขนาดภิกษุสงฆ์พากันอพยพหนีออกจากนครสาคละ 

#. จนหมดสิ้น เมืองสาคละไม่มีพระภิกษุสงฆ์อยู่ถึง ๑๓ ปี จนกระทั้งคณะสงฆ์ต้องเลือกสรรค์ ส่งพระภิกษุหนุ่มผู้เจนจบพระไตรปิฎกและลัทธินอกพระศาสนาองค์หนึ่งชื่อ # พระนาคเสนขึ้น ข้อความที่อภิปรายปุจฉาวิสัชนากันนั้นต่อมามีผู้รวบรวมขึ้นเรียกว่า มิลินทปัญหา (Milindapanha) คัมภีร์มีทั้งในฉบับสันสกฤตและบาลี ในฉบับสันสกฤต ให้ชื่อว่า "นาคเสนภิกษุสูตร" ได้มีผู้แปลถ่ายออกสู่ภาษาจีนประมาณพันปีเศษมาแล้ว 

#.ส่วนภาษาบาลีนั้นพระพุทธโฆษาจารย์ คันธารจนาจารย์ ชาวมคธ เป็นผู้แต่งคำนิทาน และคำนิคมประกอบเข้าไว้ในมิลินทปัญหาเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๙ ส่วนเนื้อธรรมอันเป็นตัวปัญหามิได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดแต่ง อย่างไรก็ดีในฉบับสันสกฤตได้บอกชาติภูมิของพระนาคเสนว่าเป็นแคว้นกัศมีระ ในฉบับบาลีกล่าวว่า

#..พระเจ้ามิลินท์กับพระนาคเสน

ท่านเกิดในวรรณะพราหมณ์บิดาชื่อโสณุตตระอาศัยอยู่ ณ กชังคลคาม ข้างภูเขาหิมาลัย เป็นข้อความตรงกัน (ภูเขาหิมาลัยตั้งต้นจากแคว้น กัศมีระ (Kashmir) ของอินเดียผ่านเนปาล ธิเบต ภูฐาน สิกขิมจดชายแดนพม่า) ในยุคนั้นพุทธศาสนานิกายสรวาส ดิกวาทิน กำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ พระนาคเสนอาจจะสังกันนิกายนี้ และคัมภีร์ฝ่ายจีนกล่าว่า พระนาคเสนได้รจนาคัมภีร์ตรีกายศาสตร์ด้วยผลของการอภิปราย นับเป็นความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงต่อพุทธศาสนา เพราะพระนาคเสนชนะ #..ส่วนพระเจ้ามิลินท์ยอมจำนนเกิดพระราชศรัทธาปสาทะในพุทธศาสนาเพราะทรงแจ่มแจ้งในพุทธธรรมโดยตลอดมา วาระสุดท้ายของพระองค์ทรงสวรรคตที่ในกระโจมที่พัก และมีการพิพาทกันระหว่างเจ้าเมืองต่างๆ ของอินเดีย และมีการแจกพระอัฐิของพระเจ้ามิลินท์แก่เมืองต่าง ๆ คล้ายกับพระศาสดา หลังจากการสวรรคตของพระเจ้ามิลินท์แล้ว กษัตริย์กรีกที่ปกครององค์ต่อมาอ่อนแออาณาจักรจึงแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์นี้คือพระเจ้าเฮอมีอุส (Hermaeus) ก่อนที่อาณาจักรจะแตกสลายพร้อมกับการขยายอำนาจของพวกสกะ (Sakas) จากเอเชียกลางเข้าครอบงำอาณาจักรของพระเจ้ามิลินท์เดิม เมื่อทราบประวัติพระเจ้ามิลินท์แล้ว ควรที่จะได้ทราบประวัติของพระนาคเสน พอสมควรดังนี้

๒.พระนาคเสน (Nagasena)

    #.. พระนาคเสนเถระ ผู้ทำให้พระเจ้ามิลินท์ปวารณานับถือพุทธศาสนา และเอกอุปถัมภ์สนับสนุนเป็นอย่างดี ในมิลินทปัญหากล่าวว่า พระนาคเสนเกิดที่เมืองกชังคละ แถบภูเขาหิมาลัย บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อว่าโสณุตตระ ในวัยเด็กอายุ ๗ ขวบได้ศึกษาไตรเพทและศาสตร์อื่น จนเจนจบ จึงถามบิดาว่ามีศาสตร์อื่นที่จะต้องเรียนบ้างไหม บิดาตอบว่ามีเท่านี้ ต่อมาวันหนึ่งได้พบพระโรหนะมาบิณฑบาตที่บ้านบิดา เกิดความเลื่อมใสจึงให้บิดานิมนต์มาที่บ้านถวายภัตตาหารและคิดว่าพระรูปนี้ต้องมีศิลปวิทยามาก จึงขอศึกษากับพระเถระ พระเถระกล่าวว่า ไม่อาจสอนผู้ที่ไม่บวชได้ จึงของบิดาบวชที่ถ้ำรักขิต ได้ศึกษาพุทธศาสนากับพระโรหนเถระ

     ต่อมาเมื่ออายุ ๒๐ ปีก็ได้รับการอุปสมบท วันหนึ่งเกิดตำหนิอุปัชฌาย์ในใจว่าอุปัชฌาย์ของเราช่างโง่จริง ให้เราศึกษาพระอภิธรรมก่อนเรียนสูตรอื่น ๆ พระโรหณะผู้อุปัชฌาย์ทราบกระแสจิตจึงกล่าวว่า พระนาคเสนคิดอย่างนี้หาถูกต้องไม่ พระนาคเสนทราบว่าพระอุปัชฌาย์รู้วาระจิตของตน จึงตกใจและขอขมา แต่พระเถระกล่าวว่า เราจะให้อภัยได้ง่าย ๆ ไม่

 

     พระนาคเสนต้องไปทำภารกิจอย่างหนึ่งที่สำคัญคือต้องไปโปรดพระเจ้ามิลินท์ที่เมืองสาคละ ให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัยก่อนจึงจะอภัยให้ และแล้วพระโรหนะก็ส่งไปศึกษาเพิ่มเติมกับพระอัสสคุตตะ ที่วัตตนิยเสนาสนะวิหารเมืองสาครพักอยู่ ๗ วัน พระเถระจึงยอมรับเป็นศิษย์ ต่อมาได้แสดงธรรมเทศนาให้เศรษฐีท่านหนึ่งฟังจนทำให้เขาบรรลุโสดาบัน และเมื่อมาไตร่ตรองคำสอนที่ตนสั่งสอนอุบาสกก็บรรลุโสดาบันตาม ต่อมาไม่นานจึงเดินทางจากสาคละไปสู่ปาฎลีบุตร พักที่อโศการามแล้วศึกษาธรรมกับพระธรรมรักขิตจนจบภายใน ๖ เดือนพระนาคเสนเดินทางไปบำเพ็ญเพียรที่รักขิตคูหาเป็นเวลานาน ในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหันต์ #..

#..คณะสงฆ์ทั้งหลายจึงอนุโมทนาแล้วประกาศให้ท่านไปโต้วาทะกับพระยามิลินท์ พระนาคเสนจึงเดินทางไปนครสาคละ แล้วพบพระเจ้ามิลินท์ที่นั้น เมื่อได้ตอบโต้ปัญหากับพระเจ้ามิลินท์แล้ว ทำให้พระองค์เกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนาขึ้นมา และเปล่งว่าจาถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต

#.กำเนิดพุทธปฏิมากรรมพระพุทธรูป   ( บทความ-อปทนิวส์ ตามรอยอุซเบกิสถาน: เส้นทางพระพุทธศาสนา  01-15 พ.ค.18)

 

 อุซเบกีสถาน : เมื่อฟ้าสีทองผ่องประกาย พระพุทธรูปปางประทับนั่งรัตนไตรก็ปรากฏให้เห็นเป็นพยาน องค์แรกของโลก    -ที่ปฏิมากรรม “พระพุทธรูปปางไตรรัตน์” องค์แรกในโลก

ภาพแกะสลักศิลา พระพุทธรูปประทับนั่งปางรัตนไตร ศิลปะคันธาระ อิทธิพลทาง วัฒนธรรมจากกรีกและโรมัน มีพระพักตร์คล้ายเทพอพอลโลของกรีก มีพระเกศาหยิกสลวย และทําจีวรเป็นริ้วผ้าธรรมชาติ ตามแบบประติมากรรมโรมันในสมัยของจักรพรรดิออกุสตุส

 

(ภาพจาก “พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสาธารณรัฐ อุซเบกีสถาน ( หมายเหตุ: งานวิจัย ได้ดำเนินมาจากค.ศ  2018-2022 ร่วมด้วย นักโบราณคดีชาว อุซเบกิสถาน . เกิดเหตุการเปลี่ยนโลก- Covid 19.ทุกอย่างหยุดชงักลง ที่ยังเหลือคือเนื้อหา และลงพื้นที่-รวบรวม RESEARCH DATA  ตามกระบวนการ Quantitative & Qualitative/ให้ครบทุกกระบวนการ 1.Observation Data 2.Experimental Data 3.Simulation Data 4.Derived/Compiled Data ดำเนินไป เพื่อหาบทสรุป" การทำวิจัยดุษฏีครั้งนี้  Dissertation Topic:  มีหัวข้อ:  Key Words:   

                                                                                  "The importance paradigm Creation Archetype of Triratna Role Model for as an Iconic & Symbolic"

                                                               from (AD the 1st-3rd  King Kanishka Period /..Image:  displayed in National Museum Tashkent..King Kanishka, period)

      หัวข้อการทำวิจัย:                                                                          กระบวนทัศน์การสร้างความหมายไตรรัตน เป็นต้นแบบแห่งสัญลักษณ์ 

                                                                                                                 เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของพระพุทธศาสนาเพื่อความเคารพ

                                                                                                                     สมัยแรกเริ่มปฏิมากรรมพระพุทธรูป   พ.ศ ๕๐๐-๗๐๐ ปี


 

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 5,025